วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การใส blackgroun


การใส่ blackgroun ภาพต่างๆนั้นยากเหมือนกันเพราะบางที่ใส่ไปตัวหนังสือหายบ้างบ้างครั้งไม่หายแต่ก็เปลี่ยนไปอีกแบบ ทำให้บางครั้งมันพิมพ์ข้อความตัวหนังสือไม่ได้มันหายไปหมดเลยพอดึงกลับมาได้ภาพมันหายไปเหลือแต่ตัวหนังสือทำไปทำมามันหายหมดเลย การใส่พื้นหลังที่เป็นสีบางครั้งมันไม่ตรงกับที่เราชอบบางทีมันก็หายหมดเลยทั้งภาพทั้งตัวอักษรก็เลยลองทำหลายๆครั้งมันก็ทำได้แต่ก็ใช้เวลาเหมือนกันกว่าจะออกมาเป็นพื้นหลังที่สวยงามกว่าเดิม

การวิ่งของตัวอักษร

การทำการวิ่งของตัวหนังสือนั้นก็ยากมากเพราะเราจะคลิกตรงนั้นตรงนี้ผิดอยู่เลื่อยเลยการทำมันก็ยากเพราะเราทำไม่เป็นการทำงานของคอมพิวเตอรืมันไม่เหมือนเราเขียนใส่แผ่นกระดาษถ้าเราเขียนใส่แผ่นกระดาษเราสามารถลบหรือเอาออกได้แต่เราทำในคอมพิวเตอร์มันทำให้ยากลำบากมากทำตรงโน้นผิดตรงนี้ผิดอยู่เลื่อยเราทำมันไม่ได้สักทีการที่เราทำให้ตัวหนังสือวิ่งได้นั้นมันน่าสนใจมากเพราะมันใช้จังหวะของมันเป็นไปตามโปรแกรมของมัน

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การใส่เนื้อหาในบทเรียนCAI


การใส่เนื้อหาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้มันก็ไม่ยากเท่าไรเพราะการพิมเนื้อหามันไม่ยุ่งยากแบบการใส่รูปใส่ภาพต่างๆแค่พิมพ์เนื้อหาเข้าไปเลยไม่ต้องเรื่งมากการทำแบบทดสอบนั้นยากมากสับสนด้วยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้มันออกมาดี การที่จะให้มันบอกว่าข้อนี้ถูกข้อนี้ผิดหรือที่บอกว่าคุณได้คะแนนเท่าใดทำดีแล้วหรือพยายามอีกนิดหรือบอกว่าดีแล้การทำแบบนี้ก็ยากมากเพราะมันทำให้งงและไม่เข้าใจการทำแบฝึกหัดก้สำเร็จได้ด้วยดี

ความคืบหน้าของการทำCAI

จากที่ได้ทำแบบฝึกหัดอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ทำอะไรมากมายเพรียงแต่ได้ร่างและเขียนเอาใว้ก่อนจากนั้นก็เอามาเขียนลงโปรแกรมก็ทำได้และก็สำเร็จด้วยเพราะสามารถทำได้จากนั้นก็ได้ทำการคำนวนคำตอบก้ตอบได้และก้ทำได้สำเร็จได้ด้วยดี จากนั้นก้ลงมือทำการลิ้งค์ต่อ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ทำการลิ้งค์

จากที่ทำการลิ้งค์เมื่อคืนนี้ก็มีความคืบหน้าอยู่บ้างหลังจากที่ทำไม่ได้มาสองวันที่ผ่านมาการทำครั้งนี้ก็ถือว่าสำเร็จเหมือนกันจากการทำนั้นก็ยากพอสมควรหลังจากนั้นก็ทำแบบฝึกหัดท้ายบททำแบบฝึกหัดก็ทำได้แต่เมื่อทำแบบฝึกหัดแล้วทำคำตอบมันถูกทุกข้อแต่มันบอกว่าถูกแค่สี่ข้อก็ต้องพยายมทำไหม่แต่เมื่อคืนไม่ได้ทำต่อเพราะมันดึกก็เลยไม่ทำต้องรอทำตอนเช้าดีกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เพิ่มเติมแบบฝึกหัดCAI

ค้นคว้าเพิ่มเติมในห้องสมุดวันนี้ได้หลักการทำมาแล้วยิ่งอ่านยิ่งงงไม่เข้าใจเลย ทำไม่ถึงอ่านไม่เข้าใจก็ไม่รู้ พอสักพักก็เลยเข้าไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็เข้าใจขึ้นมาบ้าง ก็ขึ้นว่าคงจะทำได้เพราะเข้าใจมากขึ้นและการทำในแต่ละขั้นตอนก้ต้องลองทำดูและจะตั้งใจทำให้ได้ และจะต้องทำให้สำเร็จหากทำไม่ได้คงต้องทำให้ได้เพราะตั้งใจที่จะทำแล้ว จากการค้นคว้าวันนี้ทำให้คิดได้ว่าต้องถามคนที่เก่งและเข้าใจเรื่องคอมพิวเตอร์เขาคงจะสามารถบอกเราได้เพราะเขาคงเข้าใจและรู้คงบอกเราได้ หากวันนี้ยังทำไม่ได้อีกในการทำคำถามคำตอบของบทเรียนคงท้อแน่นอนเพราะกว่าจะทำได้ท้อและเบื่อแน่นอนถ้าทำไม่ได้ก็ต้องรอดูต่อไปคอยติดตามนะคะ

ทำแบบฝึกหัด

เมื่อคืนได้ลงมือทำแบบฝึกหัดของบทเรียนCAIก็ยังทำไม่ได้เลย ลองทำไปทำมามันไม่เข้ใจสักที ก็เลยหยุดใว้ก่อนใว้ทำวันหลังแล้วก็เลยเปลียนไปทำลิ้งค์ก่อนทำได้แล้วบ้าง การทำก็ยากเหมือนกันไม่ง่ายเลยกว่าจะได้อะไรต่อละอย่างความจริงแล้วถ้าคนไหนรู้เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คงเข้าใจและทำได้อย่างง่าย ก็ต้องลองทำต่อไปคะต้องลองใหม่ดูว่าจะทำได้หรือไม่

คืบหน้า

อาทิตย์ที่ผ่านมาลงมือทำCAI จนมาถึงอาทิตย์นี้ความจริงแล้วการทำCAI ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลย การทำแบบผึกหัดในบทเรียนนั้นยากมาก และยังลิงค์ไม่ได้อีกต่างหาก สับสนมากในการทำครั้งนี้ ก็ได้มีการลงรูปภาพใส่รูปลงไปบ้างแล้วแต่ดูแล้วมันไม่เข้ากันเลยก็เลยเอาใว้ก่อนยังไม่ได้ทำอะไรต่อ ใส่รูปก็ไม่เวิค ทำแบบฝึกหัดก้ทำไม่ได้ลิ้งค์ก็ไม่ได้ สับสนมากเลย การทำCAIมันยากมากเพราะก็จะทำได้ต่อละอย่างมันยากมากทั้งสับสนทั้งเบื่อที่เบื่อก็เพราะทำไม่ได้อยู่นั้นแหละแต่ก็ต้องอดทนทำต่อไปจะลองดูใหม่และพยายามมากขึ้นคงทำได้ต้องคอยดูว่าจะทำได้หรือเปล่าต้องรอดูนะคะ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ค้นคว้าการทำCAI


จากการค้นคว้าเมื่อวานนี้ถึงวันนี้ ค้นเรื่องการสร้าง CAI จาก Internet จากโปรแกรม Flash ก็เข้าใจเรื่องการทำcaiจากคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะเป้นคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องของคอมพิวเตอร์เลย จากการค้นคว้าก็มีความรู้เพิ่มมาบ้างจากที่ไม่รู้อะไรเลยก็ดีขึ้นบ้าง ปัญหาในการใช้เน็ตนั้นมี บ้างครั้งเน็ตล้มบ้าง หลุดบ้าง ปัญหาการสร้างก็มีมากมายเพราะไม่รู้เรื่องเลสยการทำ แล้วก้ได้ไปศึกษาจากห้องสมุดด้วยหนังสือเรื่องการสร้างมัลติมีเดียแอนิแมชั่นด้วย flash อ่านแล้วก้เข้าใจบ้าง บางเรื่องบางขั้นตอนก็ไม่เข้าใจการทำโปรแกรมนี้ไม่เคยทำและไม่เคยทำมาก่อนก้เลยทำให้ไม่เข้าใจ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ความรู้ที่ได้จากการเรียนวันที่ 1 พ.ย 50

วันนี้เรียนเรื่องเข้าสู่บทเรียนออนไลน์ การเข้าไปในชุมชนคนสนใจ ชุมชนคนปฎิบัติ และชุมชนผู้เชี่ยวชาญ และการทำ blog ใน blog ของตัวเอง เรียนรู้ถึงกระบวนการศึกษา ในการสร้าง blog แต่ละคนนั้นต้องสร้างมให้ดีและสวยงาม ในการเรียนทางอินเตอรืเน็ตนั้นถ้าเข้าไป post มากๆ ก็จะได้คะแนนเยอะตามไปด้วย จากที่เรียนวันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในแว็บเพิ่มมากขึ้น ได้เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ทักษะการอ่าน

วิธีการสอนที่ผู้สอนสามารถนำผู้เรียนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ ในรูปแบบของการอ่านหนังสือ ที่ไม่เพียงสอนให้ผู้เรียนอ่านหนังสือเพื่อรับรู้ข้อมูลเท่านั้น แต่สอนให้ผู้เรียนรู้จักวิธีโต้ตอบกับผู้เขียนอีกด้วย ในอดีตครูผู้สอนที่ต้องการฝึกให้ผู้เรียนรักษาสิ่งของ มักจะกำชับผู้เรียนเสมอว่า “ ห้ามขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือ ” เพราะจะทำให้หนังสือเลอะเทอะ หรือ “ ถ้าต้องการเน้นข้อความสำคัญ อนุญาตให้ขีดเส้นใต้เพียงอย่างเดียว ” ความคิดเช่นนี้ทำให้ผู้เรียนพลาดโอกาสในการใช้หนังสือเพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ความเข้าใจ ความจำ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์ เดฟ เอลลิส ( Dave Ellis ) ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเรียนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน “ เรียนเก่ง ” กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “ มีเหตุผลเดียวที่คนเราไม่เขียนอะไรลงไปในหนังสือ เพราะเรากลัวว่าเมื่อนำไปขายต่อจะไม่ได้ราคา ซึ่งแท้จริงแล้วประโยชน์ที่ได้จากการเขียนลงไปในหนังสือนั้น มีมากกว่าที่ได้รับจากการขายไม่รู้กี่เท่า ” เอลลิส จึงได้คิดระบบที่เรียกว่า Discovery and Intention Joumal Entry System ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำมาใช้ในระหว่างการอ่านหนังสือของผู้เรียนได้ Discovery คือ ข้อค้นพบ ทัศนคติ ความคิดเห็น และความรู้สึกที่มีต่อข้อความที่ได้อ่านจากหนังสือ Intention คือ สิ่งที่ต้องตั้งใจจะทำต่อไป หลังจากที่มีข้อค้นพบ หรือมีข้อคิดจากการอ่านหนังสือ เช่น กลับไปถามอาจารย์/เพื่อน ต้องไปค้นพบข้อมูลต่อ เป็นต้น โดยผู้เรียนสามารถขีด เขียน ลงไปในหนังสือได้ วิธีการอ่านแบบนี้ด้วยแบบนี้ช่วยทำให้ผู้เรียนฉลาดขึ้น เพราะผู้เรียนจะกลายเป็น “ ผู้เรียนรู้ ” การสอนผู้เรียนให้อ่านหนังสือและให้พวกเขารับเอาสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ทั้งหมดไม่ต่างอะไรกับการฝึกให้นกแก้วนกขุนทองพูดตามคำบอก แต่หากผู้เรียนได้อ่านหนังสือแบบเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไร ได้ฝึกโต้ตอบกับผู้เขียนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่อาจไม่สอดคล้องกับผู้เขียน ไม่เพียงเท่านั้น การอ่านเรียนรู้ยังไม่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ คำศัพท์สำนวนใหม่ๆ หรืออะไรก็ตามที่ได้รับจากการอ่าน ซึ่งการอ่านแบบเรียนรู้นี้จะเกิดต่อเมื่อผู้เรียนได้อ่านแล้ว “ คิด ” หรือ “ ขีดเขียน ” ลงไปในหนังสือ ในภาคปฏิบัติ เอลลิสมีคำแนะนำที่ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้กับผู้เรียนดังนี้ สอนผู้เรียนให้ขีดเส้นใต้ ทำเครื่องหมาย สร้างสัญญาลักษณ์ เหนือข้อความที่คิดว่าสำคัญ เมื่อผู้เรียนอ่านหนังสือ ครูผู้สอนสามารถแนะนำผู้เรียนให้วงกลมล้อมรอบข้อความสำคัญนั้น ถ้าสำคัญมากและต้องกลับมาทบทวนอาจเพิ่มจำนวนดอกจันทร์เป็น*** ตามความสำคัญของเนื้อหา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจความคิดของผู้เขียนได้คมชัดมากยิ่งขึ้น สอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับจากการอ่าน เมื่อผู้เรียนได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ หรือต้องการย้ำความเข้าใจจากการอ่านหนังสือครูผู้สอนอาจสอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปความสั้นๆ หรือทำเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือทำอะไรก็ได้ตามจินตนาการของผู้เรียนไว้มุมใดมุมหนึ่งของหนังสือ การทำเช่นนี้เป็นเหมือนการที่ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้จดจำและสามารถทบทวนในสิ่งที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือทั้งเล่ม สอนให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้อ่าน ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักการโต้ตอบกับผู้เขียนระหว่างการอ่านหนังสือ ไม่ควรเป็นผู้รับรู้ข้อมูลเพียงอย่างเดียวโดยแนะนำให้ผู้เรียนเขียนสื่อสาร หรือใช้ภาษาสัญลักษณ์ลงไปในหนังสือด้วย หากผู้เรียนได้นำเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือต้องการเสนอความคิดจากสิ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย แล้วลากเส้นโยงออกมา เขียนไว้ว่า “ ความคิดนี้สุดยอดจริงๆ ” “ตรงนี้ไม่เห็นด้วยเขียนแง่ลบเกินไป” เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการสร้างผู้เรียนให้เป็นคนที่มีทักษะการคิด วิเคราะห์ และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สอนให้ผู้เรียนเขียน หรือแสดงสัญลักษณ์ เพื่อมีคำตอบจากการอ่านหนังสือ ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามในการอ่านไม่ควรเชื่อในสิ่งที่ผู้เขียน เขียนมาทั้งหมด และเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจและมีข้อสงสัยควรแนะนำให้ผู้เรียนใส่เครื่องหมายคำถาม (?) หรือเขียนประเด็นที่สงสัย หรือยังไม่เข้าใจ ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม หรือสอบถามผู้รู้ และเขียนกำกับไว้ด้วยว่าเราไม่เข้าใจอะไร หรืออาจเขียนกำกับไว้ด้วยว่าจะต้องทำอะไรต่อไป เช่น “ ตรงนี้ต้องถามอาจารย์ ” “ ไปค้นพบในห้องสมุด ” เป็นต้น อันที่จริง ผมทำอย่างที่เอลลิสได้กล่าวไว้ข้างต้นมาตั้งแต่เด็กๆ และพบว่าทำให้การอ่านหนังสือได้ประโยชน์มาก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคนเอาหนังสือที่ผมอ่านและได้เขียนสิ่งต่างๆ ไปอ่านต่อ หลายคนบอกผมว่า เขาได้รับประโยชน์จากการขีดเขียนของผมในหนังสือเล่มนั้นๆ ด้วย จึงสรุปได้ว่า วิธีการอ่านแบบนี้ช่วยทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์มากขึ้น และเรียนรู้ได้ดีมากขึ้นอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม วิธีเหมาะสำหรับหนังสือกับผู้เรียนที่เป็นเจ้าของเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หรือแม้กระทั้งหนังสือที่ขึ้นมาอ่านเล่น เพื่อให้การอ่านหนังสือเกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด แต่หนังสือที่เป็นของห้องสมุด ซึ่งต้องใช้ส่วนรวม ครูผู้สอนควรย้ำให้ผู้เรียนใช้หนังสืออย่างมีมารยาทและเห็นแก่ผู้อื่น โดยไม่จดข้อความหรือขีดเขียนสิ่งใดลงไปไม่พบหนังสือหรือวางคว่ำหน้าลง เพราะหนังสืออาจจะหักหรือเสียหายได้ และควรดูแลให้หนังสืออยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์ในการใช้ร่วมกัน ผมมีความเชื่อว่า เปิดเทอมใหม่นี้ผู้เรียนทุกคนจะสามารถพัฒนาตนเองให้เก่งและฉลาดขึ้นได้ หากครูผู้สอนใส่ใจที่จะฝึกฝนและพัฒนาผู้เรียนในวิธีการที่เหมาะสม ซึ่ง “ การอ่านหนังสือ ” เป็นวิธีการหนึ่ง เพราะช่วยเพิ่มพูนความฉลาดและพัฒนาความเก่งและความฉลาดของผู้เรียนได้นั้น เกิดจากการที่เมื่ออ่านหนังสือผู้เรียนได้อ่านและคิดใคร่ครวญ ขีดเขียน ใส่สัญลักษณ์ ใส่เครื่องหมาย โต้ตอบกับผู้เขียน แม้จะดูเลอะเทอะ ไม่น่าดูในสายตาคนอื่น แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ผู้เรียนได้รับนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยการเรียนรู้ใหม่ๆ ซึ่งคุ้มค่ากับการใช้หนังสือหนึ่งเล่ม